Last updated: 17 ก.ค. 2567 | 3061 จำนวนผู้เข้าชม |
เลือกพัดลมเพดานรุ่นไหนดี ?
การเลือกพัดลมเพดานเราจะเลือกอย่างไร? ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง? วันนี้บทความนี้มีคำตอบ
การเลือกพัดลมเพดานเราต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัย
1.ดีไซน์ของพื้นที่เราต้องการจะติดตั้งพัดลมเพดาน
ลองพิจารณาภาพรวมของพื้นที่ที่ติดตั้งพัดลมเพดานว่ามีลักษณะดีไซน์เป็นอย่างไร ไปแนวทางไหน โดยสังเกตจากสไตล์เฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการเลือกมาตกแต่งและวัสดุที่นำมาตกแต่งภายใน ยกตัวอย่างวัสดุ เช่น ไม้,หิน,พลาสติก,ปูนเปลือย,กระจก เป็นต้น รวมทั้งโทนสีของพื้นที่ด้วย
เราจะสามารถแยกสไตล์การตกแต่งพื้นที่เป็นประเภทต่างดังนี้
-Classic / Classic Luxury พัดลมเพดานรุ่นที่เหมาะกับการตกแต่งแนวคลาสิค ได้แก่ รุ่น Savoy , Seville, Builder Elite, Builder Deluxe
-Vintage พัดลมเพดานรุ่นที่เหมาะกับการตกแต่งแนววินเทจ ได้แก่ รุ่น Bayport , Seville, Builder Plus
-Contemporary พัดลมเพดานรุ่นที่เหมาะกับการตกแต่งแนวร่วมสมัย ได้แก่ รุ่น Contempo, Kohala Bay, Low Profile, Dante
-Modern พัดลมเพดานรุ่นที่เหมาะกับการตกแต่งแนวร่วมสมัย ได้แก่ รุ่น Carera, Flight, Harmony, Industrie
2.ลักษณะของพื้นที่ที่ต้องการจะติดตั้งพัดลมเพดาน
ก่อนที่เราจะสั่งซื้อพัดลมเพดาน ควรวัดขนาดของพื้นที่ที่เราต้องการจะติดตั้งก่อน ควรวัดทั้งความกว้าง ความยาว และ ความสูง เพราะถ้าเราเลือกขนาดของพัดลมเพดานได้ไม่พอดีกับห้องนั้น จะทำให้เกิดผลเสียที่ตามมาเช่น
ถ้าเราเลือกพัดลมเพดานที่มีขนาดเล็กเกินไปไม่พอดีกับห้องเมื่อติดพัดลมเพดานไปแล้วอาจจะรู้สึกไม่เย็นสบายเท่าที่ควรเพราะพัดลมไม่สามารถกระจายลมเย็นได้ทั่วห้อง แต่ถ้าเลือกพัดลมเพดานที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าห้องนั้น ก็จะทำให้เกิดเสียง Noise ของแรงลมที่สะท้อนภายในห้องได้ ดังนั้นลูกค้าควรศึกษาการเลือกขนาดพัดลมเพดานให้ดีก่อนซื้อ
หรือ หากเราติดตั้งพัดลมเพดานสูงเกินไป ก็จะทำให้แรงลมที่ลงมาไม่แรงเท่าที่ควรจะเป็น หรือหากติดตั้งต่ำเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้
วิธีการเลือกพัดลมเพดานให้พอดีกับห้อง โดยเราจะแบ่งห้องออกเป็น 3 ขนาด
1.ห้องขนาดเล็ก (ขนาด 10-15 ตรม.) ทางเราจะแนะนำให้เลือกพัดลมเพดานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเวลาหมุน หรือ Bladespan ขนาด 30-48 นิ้ว เช่น รุ่น Bayport, Dante, Seville, Kohala Bay
2.ห้องขนาดกลาง (ห้องขนาด 18 ตรม ขึ้นไป) ให้เลือกพัดลมเพดานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเวลาหมุน หรือ Bladespan ขนาด 50-54 นิ้ว เข่น รุ่น Builder Deluxe, Flight, Carera, Builder Elite, Savoy
3.ห้องขนาดใหญ่ (ห้องที่มีความกว้างเกิน 6 เมตรขึ้นไป) เลือกพัดลมเพดานที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเวลาหมุน หรือ Bladespan ขนาด 54 นิ้ว ขึ้นไป หรือ ติดตั้งพัดลมเพดานขนาด 52” จำนวน 2 ตัว ในพื้นที่ เพื่อการหมุนเวียนอากาศที่ดีในพื้นที่
อีกคำถามที่พบบ่อยคือ ความสูงห้องที่ปลอดภภัยสำหรับติดตั้งลมเพดานต้องสูงเท่าไหร่ พื้นที่ที่สามารถติดตั้งพัดลมเพดานได้อย่างปลอดภัยคือ มีความสูง 2.6 เมตรขึ้นไป เมื่อติดตั้งพัดลมเพดานแล้วควรมีความสูงจากพื้นไปถึงใบพัดอย่างน้อย 2.3 เมตรเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
สำหรับพื้นที่ที่สูงเกิน 2.8 เมตรขึ้นไปทางเราขอแนะนำให้ใช้ก้านแขวนพัดลมเพดานที่มีขนาดยาวขึ้น ซึ่งลูกคา้สามารถสั่งซื้อเพิ่มได้ หากลูกค้าติดพัดลมเพดานในตำแหน่งที่สูงเกินไป แรงลมที่ลงมาด้านล่างจะไม่เต็มประสิทธิภาพ ลูกค้าสามารถดูความยาวก้านแขวนพัดลมที่เหมาะสมตามความสูงพื้นที่ของลูกค้าได้จาก Catalog
นอกจากนี้ Hunter Fan ยังมีรุ่นพัดลมเพดานรุ่น LOW PROFILE ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับห้องหรือ พื้นที่ที่มีความสูงต่ำกว่า 2.6 เมตร อีกด้วย
สิ่งสุดท้ายที่สิ่งที่สำคัญมากคือลักษณะของพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งพัดลมเพดาน ถ้าลูกค้าต้องการติดตั้งพัดลมเพดานที่สนามนั่งเล่นข้างบ้าน แนะนำให้เลือกพัดลมเพดานที่อยู่ในหมวดหมู่ Outdoor เนื่องจากพัดลมเพดาน Outdoor จะถูกออกแบบมาเพื่อติดตั้งภายนอกอาคารโดยเฉพาะ ออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน พัดลมเพดาน Outdoor บ้างรุ่นยังกันน้ำฝน สามารถติดตั้งบริเวณพื้นที่ภายนอกที่ไม่มีหลังคาได้อีกด้วย รุ่นที่กันน้ำฝนได้ เช่น Maribel, Outdoor Element II, Outdoor Element - Weathered bricked
ลูกค้าบางท่านที่ชอบดีไซน์ของพัดลมเพดาน Outdoor แล้วต้องการนำไปติดตั้งภายในบ้าน ก็สามารถติดตั้งได้เช่นเดียวกัน การติดตั้งพัดลมเพดาน Outdoor ภายในบ้านนั้น พัดลมเพดานจะยิ่งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าเดิมอีกด้วย
หลังจากนี้ลูกค้าก็จะสามารถเลือกดีไซน์ของพัดลมเพดานให้เข้ากับสถานที่ที่ต้องการจะติดตั้งได้ โดยดีไซน์ของพัดลมเพดานของเราจะแบ่งหมวดหมู่ดีไซน์ไว้ดังนี้
-Traditional/ Classic
-Contemporary
-Modern
-Outdoor Damp Rated
-Outdoor Wet Rated
เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับลูกค้าทุกท่าน
สำหรับวันนี้ Hunter Fan Thailand ขอลาไปก่อนสวัสดีครับ
เลือกชมพัดลมเพดานของเรา >>> Shop Now <<<
30 เม.ย 2564
2 ก.พ. 2565